วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช

ประวัติโรงพยาบาลศิริราช



           ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. 2424 ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ     ดังนั้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นเพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรกณบริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาโดยพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนแรกเริ่มในการดำเนินการ
           ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯพระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2430ยังความอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯยิ่งนักถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้
ต่างๆในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาลณบริเวณวังหลังดังกล่าวนอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย

            ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า“โรงศิริราชพยาบาล”หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า“โรงพยาบาลวังหลัง”โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทยเมื่อภาระการดำเนินงานรักษาพยาบาลของโรงศิริราช
พยาบาลมีมากขึ้นจนต่อมามีแพทย์ไม่เพียงพอจึงได้ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงพยาบาลนี้และเริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2433 เป็นต้นมาโดยจัดหลักสูตรการศึกษา 3 ปี สอนทั้งวิชาแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ เรียกโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทยโดยทั่วไปนี้ว่า“โรงเรียนแพทยากร”นักศึกษาแพทย์รุ่นแรกได้สำเร็จกา
รศึกษาและได้รับประกาศนียบัตรแพทย์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2436
ที่มา : http://community.thaiware.com 



“พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช”
          พิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราชเริ่มมาจากการเก็บและ จัดแสดงสิ่งของของแต่ละภาควิชา โดยในปีพ.ศ. 2525 มี พิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวม 13 แห่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ คงเหลือเพียง 6 แห่งที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มี โอกาสเข้าเยี่ยมชม คือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
         เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรีจำนวน 33 ไร่ จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นั้นคณะฯเล็งเห็นว่า เพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ ชั้นเลิศ คณะฯ จึงเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล จึงได้ วางแผนการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่สถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศฯ ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ พิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในโครงการย่อยเหล่านั้น

         ทั้งนี้คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ในส่วน ของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชขึ้น เพื่อให้รับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ต่างๆในศิริราชคณะอนุกรรมการฯได้ พิจารณาจัดตั้ง คณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงาน ต่างๆภายในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ ซึ่งทั้งหมดรวมเรียกเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ในปัจจุบัน
        วันเปิดเข้าชม เปิดวันจันทร์-เสาร์ เวลา 9:00 - 16:00น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ชางต่างชาติ 40 บาท เด็ก นักเรียน และภิกษุ ชมฟรี  สามารถติดต่อได้ที่ Tel./Fax 02-419-6363 หรือ  simedmuseum@diamond.ac.th
        การเดินทาง จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั่งสาย 59 ต่อเรือท่าพระจันทร์-วังหลัง หรืออาจนั่งนั่งBTSลงสะพานตากสิน แล้วต่อเรือด่วนไป
         การเข้าชมภายใน
        ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงโดยใช้ของจริงที่ได้สต๊าฟหรือดองไว้และมีข้อความบรรยายในชิ้นที่จัดแสดงและมีการใช้หูฟังเพื่อฟังคำบรรยายในแต่ละส่วนของการจัดแสดงแต่ที่ดิฉันไปในครั้งนี้ไม่ได้ใช้หูฟังจึงไม่สามารถอธิบายอย่างละเอียดได้  และที่ได้ไปดูในครั้งนี้จะมีพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ และพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาส่วนอีก 2 พิพิธภัณฑ์ที่ไม่ได้ไปคือ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
       ภายในพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส ภายในจับเป็น 4โซนด้วยกันโซนแรกบริเวนทางเข้าจะเป็นประวัติการแพทย์ของไทยและต่อไปเป็นห้องที่ 2จะเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับ ทารกผิดปกติตั้งแต่กำเนิด  ภายในห้องจะมีร่างเด็กที่มีความผิดปกติ เช่น เด็กดักแด้ เด็กฝาแฝดมีแขนขาแยกกันแต่บริเวณหน้าอกและลำตัวติดกัน เด็กที่มีลักษณะ 2 หัว เด็กที่ศีรษะโตผิดปกติและมีการผ่าให้เห็นสมองด้านในและอีกอย่างที่เมื่อทุกคนเห็นแล้วจะต้องนรู้สึกสะเทือนใจคือ เด็กฝาแฝดที่ยังมีรกและสายสะดือติดอยู่แต่ที่ลำตัวมีสีดำและที่คำบรรยายใต้ฐานเขียนว่าเป็นเด็กที่ถูกขโมยไปทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์แต่ตามกลับมาได้  ห้องนี้เป็นห้องที่อยากให้ทุกคนที่มีปัญหาหรือทุกข์ใจคิดว่าตัวเองเจอแต่สิ่งแย่ได้มาดูเพราะแม้ว่าเราจะเจอปัญหามากมายร้อยแปดแต่เราก็ยังโชคดีกว่าเด็กๆที่อยู่ภายในห้องนี้ที่เรายังมีโอกาศได้เจอปัญหาและได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขมันโดยที่เด็กเหล่านี้ไม่มีโอกาศแม้แต่จะมองดูโลกใบนี้
ห้องที่ 3 จะเกี่ยวกับโรคมะเร็งต่างๆ และห้องที่ 4 จะเป็นโรคหัวใจผิดปกติ โรคความดันสูง
      ภายในพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน จะเกี่ยวกับคดีต่างๆและในห้องนี้จะมี ร่างของซีอุย นักโทษคดีข่มขืนแล้วฆ่า ชุดของนวลฉวีเป็นคดีที่ทุกคนน่าจะเคยได้ยินมาบ้างและจะมีร่างของเด็กที่เสียชีวิตอยู่มากพอสมควร
      ภายในพิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ จะแสดงการแพทย์แผนไทย ประวัติความเป็นมา ตำราแพทย์สมัยก่อน อุปการณ์การรักษาหรือการปรุงยา และพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากปรสิตต่างๆ มีตัวอย่างปรสิตให้ดู เช่น พยาธิต่างๆ
      การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
      สามารถนำรูปไปใช้ในการสอนเรื่อง พันธุกรรม ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเด็กทารก โรคต่างๆที่อาจเกิดจากปรสิต เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือการไม่ดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง หรืออาจในการศึกษาอวัยวะภายใน แต่ถ้าจะให้ดีเราควรพาเด็กมาดูด้วยตัวเอง เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในห้องหรือจากคำบอกเล่าเท่านั้น
      ข้อเสนอแนะ  อยากให้มีห้องที่จัดแสดงที่ใหญ่กว่านี้ และมีคำบรรยายทุกๆร่างหรือทุกๆชิ้นส่วนของอวัยวะที่จัดแสดงว่ามีความผิดปกติอะไรหรือเสียชีวิตเพราะอะไร
                                                                                               



ภาพบางส่วนภายในพิพิธภัณฑ์










ขอขอบคุณภาพจาก http://atcloud.com


  
-ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ..^^
 



วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

         
               โฮโลแกรม (Hologram) เป็นการสื่อสารทางไกลแบบ 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถส่งภาพทำให้ดูเสมือนว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งปรากฏตัวในที่อีกแห่งหนึ่งได้ ทั้งๆที่บุคคลนั้นอยู่ที่อื่น เหมือนหนังเรื่อง "สตาร์วอร์ส" ในภาคแรก เมื่อปี 1977 กับภาพของ "ลุค สกายวอล์คเกอร์" รับสารจาก "เจ้าหญิง เลอา" ที่ปรากฏตัวออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ผ่านเครื่องมือที่ติดตั้งไว้ในหุ่น   "อาร์ทูดีทู"   และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นนำเอา "โฮโลแกรม" มาใช้ในการรายงานข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยให้ผู้สื่อข่าวสาวที่อยู่ในนครชิคาโก ไปปรากฏตัวภายในห้องส่งด้วยภาพ 3 มิติ
                ลักษณะการใช้งานอีกอย่างหนึ่งของการปรากฏตัวแบบ 3 มิติ คือ "สเตจ โฮโลแกรม" ตัวอย่างที่เคยปรากฏต่อสายตาชาวโลก คือการปรากฏตัวของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์อังกฤษ ที่ทรงขึ้นปรากฏตัวบนเวทีการประชุมพลังงานสีเขียว ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งๆ ที่พระองค์ประทับอยู่ที่พระราชวังในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

          ทั้งนี้ โดยแท้จริงแล้ว สเตจ โฮโลแกรม
ไม่ใช่ภาพ 3 มิติ หากแต่เป็นการผสมผสานมุมมองของภาพ 2 มิติ บนแผ่นฟิล์มบางใสที่เรียกว่า "มายลาร์ สกรีน" ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ไว้สำหรับเป็นฉาก) ใช้กล้องวิดีโอแบบความละเอียดสูง ถ่ายภาพและใช้เครือข่ายไฟเบอร์ออพติค เพื่อส่งภาพเหล่านั้นจากระยะไกล มาประกอบกันบนเวทีเพื่อหลอกตาของผู้ชมให้เห็นเป็นภาพ 3 มิติ    โดยเทคโนโลยีการสร้างภาพ 3 มิติจริงๆ นั้นมีอยู่ หากแต่ทำได้แค่เพียงขนาดเล็กๆ เท่ากับที่เห็นเจ้าหญิงเลอา และมีราคาแพงมาก


        
              โฮโลแกรม มาจากเทคนิค โฮโลกราฟี” (holography) หมายถึง กระบวนการสร้างภาพโฮโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ โดยเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือแผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ
โฮโลแกรมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. white-light hologram ซึ่งภาพโฮโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ
2. ภาพโฮโลแกรมที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้
                ในทางหลักการแล้ว ความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายธรรมดา (photograph) และภาพโฮโลแกรม (hologram) นั้น คือสิ่งที่ถูกบันทึก ภาพถ่ายธรรมดาจะบันทึกความเข้ม (intensity) และ สี ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่น (wavelength) ของแสง ของแต่ละจุดในภาพที่ฉายตกลงบนฟิล์ม สำหรับภาพโฮโลแกรมนั้น นอกจากความเข้มและสีแล้ว ยังบันทึก เฟส (phase) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้สามารถสร้างกลับหน้าคลื่นของแสง ให้เหมือนหรือคล้ายกับที่สะท้อนออกจากวัตถุมาเข้าตาเราโดยตรงได้ ทำให้เห็นภาพนั้นมีสภาพเหมือน 3 มิติ
หลักการทำงาน
                ฝั่งต้นทางจะมีกล้องจับจำนวน 35 ตัว สำหรับถ่ายภาพของผู้สื่อข่าวจากต้นทางในมุมต่างๆ
แล้วค่อยสวมทับไปกับภาพในห้องส่งก่อนการออกอากาศ ซึ่งนั่นหมายความว่า ในความเป็นจริงนั้น ภายในห้องส่งจะไม่ได้เห็นภาพของผู้สื่อข่าวแบบ 3 มิติจริงๆ 
ประโยชน์
                ทำให้สามารถเรียนรู้และรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์และถ้าหากนำนวัตกรรมชนิดนี้มาใช้ในการศึกษาไทยจะทำให้การศึกษาสามารถพัฒนาขึ้นได้และทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลข่างสาร ความรู้ต่างๆได้อย่างทั่วถึงทำให้ประเทศชาติมีทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้นและรวมถึงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การแพทย์และอื่น ๆ อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9338.0 
และ http://www.learners.in.th/blogs/posts/447328




การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน


โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เดิมชื่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”  ถือกำเนิดขึ้น  ตามแผนการศึกษาชาติพุทธศักราช 2479  ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 สาย คือ สายสามัญศึกษา และสายอาชีวศึกษาและกำหนดให้ผู้ประสงค์จะเข้าเรียนในชั้นอุดมศึกษาต้องเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษาก่อนเป็นเวลา 2 ปี
ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยจึงได้ลงมติให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย”  เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480  และอนุญาตให้ใช้ พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนมัธยมหอวัง ถนนพญาไท เป็นที่ตั้ง  และแต่งตั้งให้  ฯพณฯ ศ.ม.ล.ปิ่น  มาลากุล  เป็นผู้อำนวยการคนแรก เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2480  เปิดเรียนวันแรก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2481  และนักเรียนเริ่มเรียนตามตารางสอน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2481

                                                                                                        

การสังเกตการสอนและการใช้สื่อในรายวิชาชีววิทยา
                เราได้เข้าไปสังเกตการสอนและการใช้สื่อประกอบรายวิชาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยเราได้สังเกตในรายวิชา ชีววิทยา ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีครูผู้สอน คือ ครูคธา  นุแรมรัมย์ ในการสังเกตในครั้งนี้เราได้เข้าไปสังเกตในคาบที่ 1และ2 ของวันที่  1สิงหาคม 2555
        เนื้อหาที่สอนในวันนี้ คือ เรื่องความหลากหลายทางชีววิทยา โดยครูคธาจะเน้นที่ สื่อPowerPoint และการบรรยายเป็นหลัก โดยในระหว่างการบรรยายก็จะมีการถาม ตอบเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนบ้างเป็นช่วงๆ และก่อนที่จะมีการสอนในเนื้อหา ครูคธาได้มีวีดีโอเปิดให้นักเรียนดูก่อน เพื่อเป็นการเกรินนำเข้าสู่บทเรียน
และภาพนี้เป็นหนังสือที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนควบคู่ไปกับหนังสือของ สสวท.โดยภายในหนังสือเล่มนี้ก็จะมี เนื้อหา แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แนวข้อสอบและหนังสือเล่มนี้ก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเพื่อให้ทันกับวิทยาการความรู้ใหม่ๆ
การวิเคราะห์สื่อที่ใช้
ชื่อที่ใช้    PowerPoint
ประโยชน์              1. ทำให้นักเรียนได้รับเนื้อหาความรู้อย่างเต็มที่
                                2. ง่ายต่อการบรรยาย
                                3. หากเด็กนักเรียนฟังไม่ทันก็สามารถที่จะดูจาก PowerPoint ได้ ทำให้เด็กไม่หลุดออกจากเนื้อหาที่สอน
                                4. สามารถแสดงตังอย่างสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุที่หากยากที่ไม่สามารถนำมาให้ดูในห้องเรียนได้
                                5. ง่ายต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กนักเรียน เพราะมีทั้งคำบรรยายที่ครูพูด คำบรรยายที่เป็นตัวหนังสือ และรูปภาพที่สามารถสื่อความหมายได้ดี

                      และภาพนี้เป็นหนังสือที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนควบคู่ไปกับหนังสือของ สสวท.โดยภายในหนังสือเล่มนี้ก็จะมี เนื้อหา แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แนวข้อสอบและหนังสือเล่มนี้ก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเพื่อให้ทันกับวิทยาการความรู้ใหม่ๆ
การวิเคราะห์สื่อที่ใช้
ชื่อที่ใช้    PowerPoint
ประโยชน์              1. ทำให้นักเรียนได้รับเนื้อหาความรู้อย่างเต็มที่
                                2. ง่ายต่อการบรรยาย
                                3. หากเด็กนักเรียนฟังไม่ทันก็สามารถที่จะดูจาก PowerPoint ได้ ทำให้เด็กไม่หลุดออกจากเนื้อหาที่สอน
                                4. สามารถแสดงตังอย่างสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุที่หากยากที่ไม่สามารถนำมาให้ดูในห้องเรียนได้
                                5. ง่ายต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กนักเรียน เพราะมีทั้งคำบรรยายที่ครูพูด คำบรรยายที่เป็นตัวหนังสือ และรูปภาพที่สามารถสื่อความหมายได้ดี
ปัญหาและอุปสรรค            1. เมื่อต้องการที่จะให้เด็กได้ในเนื้อหาความรู้บวกกับเนื้อหาที่มีมากทำให้ในสไลด์มีตัวหนังสือมากและขนาดตัวเล็ก ทำให้เด็กที่อยู่หลังห้องมองไม่เห็น
                                                2. เด็กจะไม่ค่อยมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
                                                3. เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเป็นการบรรยายเด็กอาจเบื่อได้
ข้อเสนอแนะ                        1. ควรมีการจัดให้ตัวหนังสื่อใหญ่กว่านี้
                                                2. ในระหว่างการเรียนการสอนอาจมีกิจกรรมเล็กๆที่ใช้เวลาไม่มากให้นักเรียนได้ทำเพื่อเป็นการผ่อนคลาย
                                                3. ในการบรรยายไม่ควรพูดเร็วจนเกินไป


                       ขอขอบคุณทางโรงเรียนเตรียมอุดมที่ให้ความอนุเคราะห์ในการสังเกตการสอนในครั้งนี้ค่ะ

                                                                                           ปล.ที่ไม่มีรูปหนูเพราะหนูเป็นคนถ่ายค่ะ
 



วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข่าวกระทำผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์


แฮกเกอร์ แอโนนีมัสป่วนเว็บ ซีไอเอหน่วยงานรัฐแอละแบมา

กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง "แอโนนีมัส" เจาะระบบเว็บไซต์ของซีไอเอ จนใช้งานไม่ได้นานหลายชั่วโมง ทั้งยังเข้าไปขโมยประวัติต่างๆ ของคนเกือบ 5 หมื่นคน จากเว็บไซต์ของรัฐแอละแบมาด้วย...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า 'แอโนนีมัส' กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง ออกมากล่าวอ้างว่า เป็นผู้โจมตีเว็บไซต์ของ หน่วยสืบราชการลับกลาง (ซีไอเอ) ของสหรัฐฯ จนใช้การไม่ได้ไปนานกว่า 9 ชม. เมื่อวันศุกร์ รวมถึงเจาะเข้าไปขโมยข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่อยู่ และเลขประกันสังคมของคนกว่า 46,000 คน จากเว็บไซต์หน่วยงานนิติบัญญัติของมลรัฐแอละแบมาหลายเว็บไซต์ด้วย

แอโนนีมัส อ้างว่า ทำไปเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายที่มีลักษณะแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ทั้งยังขู่ว่าจะทำลายข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้ความสนใจต่อกลุ่มผู้อพยพแล้ว ยังไม่สนใจต่อความเป็นอยู่ของชาวแอละแบมาอีกด้วย
                                                                                                ข่าวโดย : ไทยรัฐ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555

    
สรุปข่าว
                กลุ่มแฮกเกอร์ "แอโนนีมัส" ได้เจาะเข้าระบบเว็บไซต์ของซีไอเอ จนใช้งานไม่ได้นาน         9 ชั่วโมง และยังได้เจาะระบบเข้าไปขโมย ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่อยู่ และเลขประกันสังคมของคนกว่า 46,000 คน จากเว็บไซต์หน่วยงานนิติบัญญัติของมลรัฐแอละแบมา หลายเว็บไซต์ด้วย โดยแฮกเกอร์กลุ่มนี้อ้างว่า ทำไปเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายที่มีลักษณะแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย และยังได้ขู่อีกว่าจะทำลายข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้ความสนใจต่อกลุ่มผู้อพยพแล้ว ยังไม่ให้ความสนใจต่อความเป็นอยู่ของชาวแอละแบมาอีกด้วย
ความผิดและโทษ
                กลุ่มแฮกเกอร์แอโนนีมัส ได้กระทำความผิด มาตรา 5, 7, 10 และ12 โดยมาตรา 5 ว่าด้วยการเข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท มาตรา 10 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท มาตรา 12 กระทบความมั่นคง มีโทษจำคุก 3-15 ปี  ปรับ 60,000-300,000 บาท
วิธีแก้ไขปัญหา
                วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คงไม้พ้นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งปัญหานี้สาเหตุเกิดมาจาก คนที่มีความรู้ความสามารถแต่กลับใช้ความรู้ความสามารถนั้นไปในทางที่ผิด หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นคนเก่งแต่ขาดคุณธรรม ดังนั้นเราจะต้อง สั่งสอน ปลูกฝังเด็กตั้งแต่พวกเค้ายังเล็กๆ เพราะเด็กก็เปรียบเสมือนแก้วเปล่าที่พร้อมจะรับสิ่งต่างๆเข้ามา ถ้าเรานำแต่สิ่งที่ดีๆใส่ให้เข้า เค้าก็จะเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ซึ่งสถาบันที่สำคัญที่จะเป็นรากฐานในการปลูกฝังให้กับเด็กๆ คือ ครองครัวและโรงเรียน ครอบครัวถือได้ว่า เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดและเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการที่จะปลูกฝังให้เด็กๆนั้นโตขึ้นมาเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมและโรงเรียนก็จะเป็นหน่วยที่ 2 ที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่างๆให้แก่เด็ก ทำให้เด็กเป็นผู้ที่มีความรู้และอีกหน้าที่ คือ การขัดเกลาเด็กๆให้เป็นคนดี รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรืออาจกล่าวได้ว่า  สอนให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่งไปพร้อมๆกัน
                ทั้งครอบครัวและโรงเรียนต่างเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เด็กๆเหล่านี้โตขึ้นมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป ดังนั้น ทั้งครอบครัวและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเหล่านี้หมดไปจากประเทศ
               
           เพื่อนๆคนไหนที่มีข้อติชมสามารถ ติชมได้ด้านล่างนี้เลยนะค่ะ         อุ้มรัก....
           

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัวค่ะ

      ชื่อ นางสาวพรพิมล  อินแมน   ชื่อเล่น อุ้ม
      รหัสนิสิต 53102011050 กลุ่ม SC3ED2
      เกิดวันที่ 27/11/2534  อายุ 20 ปี
      E-mail   aumrak_91@hotmail.com
      Facebook  Ponpimol  Inman
      ผลการเรียนเฉลี่ย   3.37
      จุดเด่น  ฟันเขี้ยว
      จุดที่อยากจะพัฒนา   ด้านภาษาและบุคลิกภาพ
      ความคาดหวังในรายวิชา  1. สามารถออกแบบ สร้าง และนำสื่อไปใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้
                                         2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในการเรียนการสอน