แฮกเกอร์ “แอโนนีมัส” ป่วนเว็บ “ซีไอเอ” หน่วยงานรัฐแอละแบมา
กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง "แอโนนีมัส" เจาะระบบเว็บไซต์ของซีไอเอ จนใช้งานไม่ได้นานหลายชั่วโมง ทั้งยังเข้าไปขโมยประวัติต่างๆ ของคนเกือบ 5 หมื่นคน จากเว็บไซต์ของรัฐแอละแบมาด้วย...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า 'แอโนนีมัส' กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง ออกมากล่าวอ้างว่า เป็นผู้โจมตีเว็บไซต์ของ หน่วยสืบราชการลับกลาง (ซีไอเอ) ของสหรัฐฯ จนใช้การไม่ได้ไปนานกว่า 9 ชม. เมื่อวันศุกร์ รวมถึงเจาะเข้าไปขโมยข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่อยู่ และเลขประกันสังคมของคนกว่า 46,000 คน จากเว็บไซต์หน่วยงานนิติบัญญัติของมลรัฐแอละแบมาหลายเว็บไซต์ด้วย
แอโนนีมัส อ้างว่า ทำไปเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายที่มีลักษณะแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ทั้งยังขู่ว่าจะทำลายข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้ความสนใจต่อกลุ่มผู้อพยพแล้ว ยังไม่สนใจต่อความเป็นอยู่ของชาวแอละแบมาอีกด้วย
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า 'แอโนนีมัส' กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง ออกมากล่าวอ้างว่า เป็นผู้โจมตีเว็บไซต์ของ หน่วยสืบราชการลับกลาง (ซีไอเอ) ของสหรัฐฯ จนใช้การไม่ได้ไปนานกว่า 9 ชม. เมื่อวันศุกร์ รวมถึงเจาะเข้าไปขโมยข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่อยู่ และเลขประกันสังคมของคนกว่า 46,000 คน จากเว็บไซต์หน่วยงานนิติบัญญัติของมลรัฐแอละแบมาหลายเว็บไซต์ด้วย
แอโนนีมัส อ้างว่า ทำไปเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายที่มีลักษณะแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ทั้งยังขู่ว่าจะทำลายข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้ความสนใจต่อกลุ่มผู้อพยพแล้ว ยังไม่สนใจต่อความเป็นอยู่ของชาวแอละแบมาอีกด้วย
ข่าวโดย : ไทยรัฐ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
สรุปข่าว
กลุ่มแฮกเกอร์ "แอโนนีมัส" ได้เจาะเข้าระบบเว็บไซต์ของซีไอเอ จนใช้งานไม่ได้นาน 9 ชั่วโมง และยังได้เจาะระบบเข้าไปขโมย ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่อยู่ และเลขประกันสังคมของคนกว่า 46,000 คน จากเว็บไซต์หน่วยงานนิติบัญญัติของมลรัฐแอละแบมา หลายเว็บไซต์ด้วย โดยแฮกเกอร์กลุ่มนี้อ้างว่า ทำไปเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายที่มีลักษณะแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย และยังได้ขู่อีกว่าจะทำลายข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้ความสนใจต่อกลุ่มผู้อพยพแล้ว ยังไม่ให้ความสนใจต่อความเป็นอยู่ของชาวแอละแบมาอีกด้วย
ความผิดและโทษ
กลุ่มแฮกเกอร์แอโนนีมัส ได้กระทำความผิด มาตรา 5, 7, 10 และ12 โดยมาตรา 5 ว่าด้วยการเข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท มาตรา 10 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท มาตรา 12 กระทบความมั่นคง มีโทษจำคุก 3-15 ปี ปรับ 60,000-300,000 บาท
วิธีแก้ไขปัญหา
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คงไม้พ้นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งปัญหานี้สาเหตุเกิดมาจาก คนที่มีความรู้ความสามารถแต่กลับใช้ความรู้ความสามารถนั้นไปในทางที่ผิด หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นคนเก่งแต่ขาดคุณธรรม ดังนั้นเราจะต้อง สั่งสอน ปลูกฝังเด็กตั้งแต่พวกเค้ายังเล็กๆ เพราะเด็กก็เปรียบเสมือนแก้วเปล่าที่พร้อมจะรับสิ่งต่างๆเข้ามา ถ้าเรานำแต่สิ่งที่ดีๆใส่ให้เข้า เค้าก็จะเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ซึ่งสถาบันที่สำคัญที่จะเป็นรากฐานในการปลูกฝังให้กับเด็กๆ คือ ครองครัวและโรงเรียน ครอบครัวถือได้ว่า เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดและเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการที่จะปลูกฝังให้เด็กๆนั้นโตขึ้นมาเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมและโรงเรียนก็จะเป็นหน่วยที่ 2 ที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่างๆให้แก่เด็ก ทำให้เด็กเป็นผู้ที่มีความรู้และอีกหน้าที่ คือ การขัดเกลาเด็กๆให้เป็นคนดี รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรืออาจกล่าวได้ว่า สอนให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่งไปพร้อมๆกัน
ทั้งครอบครัวและโรงเรียนต่างเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เด็กๆเหล่านี้โตขึ้นมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป ดังนั้น ทั้งครอบครัวและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเหล่านี้หมดไปจากประเทศ
เพื่อนๆคนไหนที่มีข้อติชมสามารถ ติชมได้ด้านล่างนี้เลยนะค่ะ อุ้มรัก....