วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช

ประวัติโรงพยาบาลศิริราช



           ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. 2424 ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ     ดังนั้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นเพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรกณบริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาโดยพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนแรกเริ่มในการดำเนินการ
           ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯพระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2430ยังความอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯยิ่งนักถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้
ต่างๆในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาลณบริเวณวังหลังดังกล่าวนอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย

            ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า“โรงศิริราชพยาบาล”หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า“โรงพยาบาลวังหลัง”โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทยเมื่อภาระการดำเนินงานรักษาพยาบาลของโรงศิริราช
พยาบาลมีมากขึ้นจนต่อมามีแพทย์ไม่เพียงพอจึงได้ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงพยาบาลนี้และเริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2433 เป็นต้นมาโดยจัดหลักสูตรการศึกษา 3 ปี สอนทั้งวิชาแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ เรียกโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทยโดยทั่วไปนี้ว่า“โรงเรียนแพทยากร”นักศึกษาแพทย์รุ่นแรกได้สำเร็จกา
รศึกษาและได้รับประกาศนียบัตรแพทย์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2436
ที่มา : http://community.thaiware.com 



“พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช”
          พิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราชเริ่มมาจากการเก็บและ จัดแสดงสิ่งของของแต่ละภาควิชา โดยในปีพ.ศ. 2525 มี พิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวม 13 แห่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ คงเหลือเพียง 6 แห่งที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มี โอกาสเข้าเยี่ยมชม คือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
         เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรีจำนวน 33 ไร่ จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นั้นคณะฯเล็งเห็นว่า เพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ ชั้นเลิศ คณะฯ จึงเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล จึงได้ วางแผนการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่สถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศฯ ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ พิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในโครงการย่อยเหล่านั้น

         ทั้งนี้คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ในส่วน ของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชขึ้น เพื่อให้รับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ต่างๆในศิริราชคณะอนุกรรมการฯได้ พิจารณาจัดตั้ง คณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงาน ต่างๆภายในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ ซึ่งทั้งหมดรวมเรียกเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ในปัจจุบัน
        วันเปิดเข้าชม เปิดวันจันทร์-เสาร์ เวลา 9:00 - 16:00น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ชางต่างชาติ 40 บาท เด็ก นักเรียน และภิกษุ ชมฟรี  สามารถติดต่อได้ที่ Tel./Fax 02-419-6363 หรือ  simedmuseum@diamond.ac.th
        การเดินทาง จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั่งสาย 59 ต่อเรือท่าพระจันทร์-วังหลัง หรืออาจนั่งนั่งBTSลงสะพานตากสิน แล้วต่อเรือด่วนไป
         การเข้าชมภายใน
        ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงโดยใช้ของจริงที่ได้สต๊าฟหรือดองไว้และมีข้อความบรรยายในชิ้นที่จัดแสดงและมีการใช้หูฟังเพื่อฟังคำบรรยายในแต่ละส่วนของการจัดแสดงแต่ที่ดิฉันไปในครั้งนี้ไม่ได้ใช้หูฟังจึงไม่สามารถอธิบายอย่างละเอียดได้  และที่ได้ไปดูในครั้งนี้จะมีพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ และพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาส่วนอีก 2 พิพิธภัณฑ์ที่ไม่ได้ไปคือ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
       ภายในพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส ภายในจับเป็น 4โซนด้วยกันโซนแรกบริเวนทางเข้าจะเป็นประวัติการแพทย์ของไทยและต่อไปเป็นห้องที่ 2จะเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับ ทารกผิดปกติตั้งแต่กำเนิด  ภายในห้องจะมีร่างเด็กที่มีความผิดปกติ เช่น เด็กดักแด้ เด็กฝาแฝดมีแขนขาแยกกันแต่บริเวณหน้าอกและลำตัวติดกัน เด็กที่มีลักษณะ 2 หัว เด็กที่ศีรษะโตผิดปกติและมีการผ่าให้เห็นสมองด้านในและอีกอย่างที่เมื่อทุกคนเห็นแล้วจะต้องนรู้สึกสะเทือนใจคือ เด็กฝาแฝดที่ยังมีรกและสายสะดือติดอยู่แต่ที่ลำตัวมีสีดำและที่คำบรรยายใต้ฐานเขียนว่าเป็นเด็กที่ถูกขโมยไปทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์แต่ตามกลับมาได้  ห้องนี้เป็นห้องที่อยากให้ทุกคนที่มีปัญหาหรือทุกข์ใจคิดว่าตัวเองเจอแต่สิ่งแย่ได้มาดูเพราะแม้ว่าเราจะเจอปัญหามากมายร้อยแปดแต่เราก็ยังโชคดีกว่าเด็กๆที่อยู่ภายในห้องนี้ที่เรายังมีโอกาศได้เจอปัญหาและได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขมันโดยที่เด็กเหล่านี้ไม่มีโอกาศแม้แต่จะมองดูโลกใบนี้
ห้องที่ 3 จะเกี่ยวกับโรคมะเร็งต่างๆ และห้องที่ 4 จะเป็นโรคหัวใจผิดปกติ โรคความดันสูง
      ภายในพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน จะเกี่ยวกับคดีต่างๆและในห้องนี้จะมี ร่างของซีอุย นักโทษคดีข่มขืนแล้วฆ่า ชุดของนวลฉวีเป็นคดีที่ทุกคนน่าจะเคยได้ยินมาบ้างและจะมีร่างของเด็กที่เสียชีวิตอยู่มากพอสมควร
      ภายในพิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ จะแสดงการแพทย์แผนไทย ประวัติความเป็นมา ตำราแพทย์สมัยก่อน อุปการณ์การรักษาหรือการปรุงยา และพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากปรสิตต่างๆ มีตัวอย่างปรสิตให้ดู เช่น พยาธิต่างๆ
      การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
      สามารถนำรูปไปใช้ในการสอนเรื่อง พันธุกรรม ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเด็กทารก โรคต่างๆที่อาจเกิดจากปรสิต เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือการไม่ดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง หรืออาจในการศึกษาอวัยวะภายใน แต่ถ้าจะให้ดีเราควรพาเด็กมาดูด้วยตัวเอง เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในห้องหรือจากคำบอกเล่าเท่านั้น
      ข้อเสนอแนะ  อยากให้มีห้องที่จัดแสดงที่ใหญ่กว่านี้ และมีคำบรรยายทุกๆร่างหรือทุกๆชิ้นส่วนของอวัยวะที่จัดแสดงว่ามีความผิดปกติอะไรหรือเสียชีวิตเพราะอะไร
                                                                                               



ภาพบางส่วนภายในพิพิธภัณฑ์










ขอขอบคุณภาพจาก http://atcloud.com


  
-ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ..^^