วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

         
               โฮโลแกรม (Hologram) เป็นการสื่อสารทางไกลแบบ 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถส่งภาพทำให้ดูเสมือนว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งปรากฏตัวในที่อีกแห่งหนึ่งได้ ทั้งๆที่บุคคลนั้นอยู่ที่อื่น เหมือนหนังเรื่อง "สตาร์วอร์ส" ในภาคแรก เมื่อปี 1977 กับภาพของ "ลุค สกายวอล์คเกอร์" รับสารจาก "เจ้าหญิง เลอา" ที่ปรากฏตัวออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ผ่านเครื่องมือที่ติดตั้งไว้ในหุ่น   "อาร์ทูดีทู"   และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นนำเอา "โฮโลแกรม" มาใช้ในการรายงานข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยให้ผู้สื่อข่าวสาวที่อยู่ในนครชิคาโก ไปปรากฏตัวภายในห้องส่งด้วยภาพ 3 มิติ
                ลักษณะการใช้งานอีกอย่างหนึ่งของการปรากฏตัวแบบ 3 มิติ คือ "สเตจ โฮโลแกรม" ตัวอย่างที่เคยปรากฏต่อสายตาชาวโลก คือการปรากฏตัวของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์อังกฤษ ที่ทรงขึ้นปรากฏตัวบนเวทีการประชุมพลังงานสีเขียว ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งๆ ที่พระองค์ประทับอยู่ที่พระราชวังในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

          ทั้งนี้ โดยแท้จริงแล้ว สเตจ โฮโลแกรม
ไม่ใช่ภาพ 3 มิติ หากแต่เป็นการผสมผสานมุมมองของภาพ 2 มิติ บนแผ่นฟิล์มบางใสที่เรียกว่า "มายลาร์ สกรีน" ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ไว้สำหรับเป็นฉาก) ใช้กล้องวิดีโอแบบความละเอียดสูง ถ่ายภาพและใช้เครือข่ายไฟเบอร์ออพติค เพื่อส่งภาพเหล่านั้นจากระยะไกล มาประกอบกันบนเวทีเพื่อหลอกตาของผู้ชมให้เห็นเป็นภาพ 3 มิติ    โดยเทคโนโลยีการสร้างภาพ 3 มิติจริงๆ นั้นมีอยู่ หากแต่ทำได้แค่เพียงขนาดเล็กๆ เท่ากับที่เห็นเจ้าหญิงเลอา และมีราคาแพงมาก


        
              โฮโลแกรม มาจากเทคนิค โฮโลกราฟี” (holography) หมายถึง กระบวนการสร้างภาพโฮโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ โดยเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือแผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ
โฮโลแกรมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. white-light hologram ซึ่งภาพโฮโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ
2. ภาพโฮโลแกรมที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้
                ในทางหลักการแล้ว ความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายธรรมดา (photograph) และภาพโฮโลแกรม (hologram) นั้น คือสิ่งที่ถูกบันทึก ภาพถ่ายธรรมดาจะบันทึกความเข้ม (intensity) และ สี ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่น (wavelength) ของแสง ของแต่ละจุดในภาพที่ฉายตกลงบนฟิล์ม สำหรับภาพโฮโลแกรมนั้น นอกจากความเข้มและสีแล้ว ยังบันทึก เฟส (phase) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้สามารถสร้างกลับหน้าคลื่นของแสง ให้เหมือนหรือคล้ายกับที่สะท้อนออกจากวัตถุมาเข้าตาเราโดยตรงได้ ทำให้เห็นภาพนั้นมีสภาพเหมือน 3 มิติ
หลักการทำงาน
                ฝั่งต้นทางจะมีกล้องจับจำนวน 35 ตัว สำหรับถ่ายภาพของผู้สื่อข่าวจากต้นทางในมุมต่างๆ
แล้วค่อยสวมทับไปกับภาพในห้องส่งก่อนการออกอากาศ ซึ่งนั่นหมายความว่า ในความเป็นจริงนั้น ภายในห้องส่งจะไม่ได้เห็นภาพของผู้สื่อข่าวแบบ 3 มิติจริงๆ 
ประโยชน์
                ทำให้สามารถเรียนรู้และรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์และถ้าหากนำนวัตกรรมชนิดนี้มาใช้ในการศึกษาไทยจะทำให้การศึกษาสามารถพัฒนาขึ้นได้และทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลข่างสาร ความรู้ต่างๆได้อย่างทั่วถึงทำให้ประเทศชาติมีทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้นและรวมถึงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การแพทย์และอื่น ๆ อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9338.0 
และ http://www.learners.in.th/blogs/posts/447328




การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน


โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เดิมชื่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”  ถือกำเนิดขึ้น  ตามแผนการศึกษาชาติพุทธศักราช 2479  ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 สาย คือ สายสามัญศึกษา และสายอาชีวศึกษาและกำหนดให้ผู้ประสงค์จะเข้าเรียนในชั้นอุดมศึกษาต้องเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษาก่อนเป็นเวลา 2 ปี
ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยจึงได้ลงมติให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย”  เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480  และอนุญาตให้ใช้ พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนมัธยมหอวัง ถนนพญาไท เป็นที่ตั้ง  และแต่งตั้งให้  ฯพณฯ ศ.ม.ล.ปิ่น  มาลากุล  เป็นผู้อำนวยการคนแรก เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2480  เปิดเรียนวันแรก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2481  และนักเรียนเริ่มเรียนตามตารางสอน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2481

                                                                                                        

การสังเกตการสอนและการใช้สื่อในรายวิชาชีววิทยา
                เราได้เข้าไปสังเกตการสอนและการใช้สื่อประกอบรายวิชาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยเราได้สังเกตในรายวิชา ชีววิทยา ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีครูผู้สอน คือ ครูคธา  นุแรมรัมย์ ในการสังเกตในครั้งนี้เราได้เข้าไปสังเกตในคาบที่ 1และ2 ของวันที่  1สิงหาคม 2555
        เนื้อหาที่สอนในวันนี้ คือ เรื่องความหลากหลายทางชีววิทยา โดยครูคธาจะเน้นที่ สื่อPowerPoint และการบรรยายเป็นหลัก โดยในระหว่างการบรรยายก็จะมีการถาม ตอบเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนบ้างเป็นช่วงๆ และก่อนที่จะมีการสอนในเนื้อหา ครูคธาได้มีวีดีโอเปิดให้นักเรียนดูก่อน เพื่อเป็นการเกรินนำเข้าสู่บทเรียน
และภาพนี้เป็นหนังสือที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนควบคู่ไปกับหนังสือของ สสวท.โดยภายในหนังสือเล่มนี้ก็จะมี เนื้อหา แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แนวข้อสอบและหนังสือเล่มนี้ก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเพื่อให้ทันกับวิทยาการความรู้ใหม่ๆ
การวิเคราะห์สื่อที่ใช้
ชื่อที่ใช้    PowerPoint
ประโยชน์              1. ทำให้นักเรียนได้รับเนื้อหาความรู้อย่างเต็มที่
                                2. ง่ายต่อการบรรยาย
                                3. หากเด็กนักเรียนฟังไม่ทันก็สามารถที่จะดูจาก PowerPoint ได้ ทำให้เด็กไม่หลุดออกจากเนื้อหาที่สอน
                                4. สามารถแสดงตังอย่างสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุที่หากยากที่ไม่สามารถนำมาให้ดูในห้องเรียนได้
                                5. ง่ายต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กนักเรียน เพราะมีทั้งคำบรรยายที่ครูพูด คำบรรยายที่เป็นตัวหนังสือ และรูปภาพที่สามารถสื่อความหมายได้ดี

                      และภาพนี้เป็นหนังสือที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนควบคู่ไปกับหนังสือของ สสวท.โดยภายในหนังสือเล่มนี้ก็จะมี เนื้อหา แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แนวข้อสอบและหนังสือเล่มนี้ก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเพื่อให้ทันกับวิทยาการความรู้ใหม่ๆ
การวิเคราะห์สื่อที่ใช้
ชื่อที่ใช้    PowerPoint
ประโยชน์              1. ทำให้นักเรียนได้รับเนื้อหาความรู้อย่างเต็มที่
                                2. ง่ายต่อการบรรยาย
                                3. หากเด็กนักเรียนฟังไม่ทันก็สามารถที่จะดูจาก PowerPoint ได้ ทำให้เด็กไม่หลุดออกจากเนื้อหาที่สอน
                                4. สามารถแสดงตังอย่างสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุที่หากยากที่ไม่สามารถนำมาให้ดูในห้องเรียนได้
                                5. ง่ายต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กนักเรียน เพราะมีทั้งคำบรรยายที่ครูพูด คำบรรยายที่เป็นตัวหนังสือ และรูปภาพที่สามารถสื่อความหมายได้ดี
ปัญหาและอุปสรรค            1. เมื่อต้องการที่จะให้เด็กได้ในเนื้อหาความรู้บวกกับเนื้อหาที่มีมากทำให้ในสไลด์มีตัวหนังสือมากและขนาดตัวเล็ก ทำให้เด็กที่อยู่หลังห้องมองไม่เห็น
                                                2. เด็กจะไม่ค่อยมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
                                                3. เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเป็นการบรรยายเด็กอาจเบื่อได้
ข้อเสนอแนะ                        1. ควรมีการจัดให้ตัวหนังสื่อใหญ่กว่านี้
                                                2. ในระหว่างการเรียนการสอนอาจมีกิจกรรมเล็กๆที่ใช้เวลาไม่มากให้นักเรียนได้ทำเพื่อเป็นการผ่อนคลาย
                                                3. ในการบรรยายไม่ควรพูดเร็วจนเกินไป


                       ขอขอบคุณทางโรงเรียนเตรียมอุดมที่ให้ความอนุเคราะห์ในการสังเกตการสอนในครั้งนี้ค่ะ

                                                                                           ปล.ที่ไม่มีรูปหนูเพราะหนูเป็นคนถ่ายค่ะ