วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

         
               โฮโลแกรม (Hologram) เป็นการสื่อสารทางไกลแบบ 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถส่งภาพทำให้ดูเสมือนว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งปรากฏตัวในที่อีกแห่งหนึ่งได้ ทั้งๆที่บุคคลนั้นอยู่ที่อื่น เหมือนหนังเรื่อง "สตาร์วอร์ส" ในภาคแรก เมื่อปี 1977 กับภาพของ "ลุค สกายวอล์คเกอร์" รับสารจาก "เจ้าหญิง เลอา" ที่ปรากฏตัวออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ผ่านเครื่องมือที่ติดตั้งไว้ในหุ่น   "อาร์ทูดีทู"   และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นนำเอา "โฮโลแกรม" มาใช้ในการรายงานข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยให้ผู้สื่อข่าวสาวที่อยู่ในนครชิคาโก ไปปรากฏตัวภายในห้องส่งด้วยภาพ 3 มิติ
                ลักษณะการใช้งานอีกอย่างหนึ่งของการปรากฏตัวแบบ 3 มิติ คือ "สเตจ โฮโลแกรม" ตัวอย่างที่เคยปรากฏต่อสายตาชาวโลก คือการปรากฏตัวของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์อังกฤษ ที่ทรงขึ้นปรากฏตัวบนเวทีการประชุมพลังงานสีเขียว ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งๆ ที่พระองค์ประทับอยู่ที่พระราชวังในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

          ทั้งนี้ โดยแท้จริงแล้ว สเตจ โฮโลแกรม
ไม่ใช่ภาพ 3 มิติ หากแต่เป็นการผสมผสานมุมมองของภาพ 2 มิติ บนแผ่นฟิล์มบางใสที่เรียกว่า "มายลาร์ สกรีน" ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ไว้สำหรับเป็นฉาก) ใช้กล้องวิดีโอแบบความละเอียดสูง ถ่ายภาพและใช้เครือข่ายไฟเบอร์ออพติค เพื่อส่งภาพเหล่านั้นจากระยะไกล มาประกอบกันบนเวทีเพื่อหลอกตาของผู้ชมให้เห็นเป็นภาพ 3 มิติ    โดยเทคโนโลยีการสร้างภาพ 3 มิติจริงๆ นั้นมีอยู่ หากแต่ทำได้แค่เพียงขนาดเล็กๆ เท่ากับที่เห็นเจ้าหญิงเลอา และมีราคาแพงมาก


        
              โฮโลแกรม มาจากเทคนิค โฮโลกราฟี” (holography) หมายถึง กระบวนการสร้างภาพโฮโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ โดยเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือแผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ
โฮโลแกรมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. white-light hologram ซึ่งภาพโฮโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ
2. ภาพโฮโลแกรมที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้
                ในทางหลักการแล้ว ความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายธรรมดา (photograph) และภาพโฮโลแกรม (hologram) นั้น คือสิ่งที่ถูกบันทึก ภาพถ่ายธรรมดาจะบันทึกความเข้ม (intensity) และ สี ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่น (wavelength) ของแสง ของแต่ละจุดในภาพที่ฉายตกลงบนฟิล์ม สำหรับภาพโฮโลแกรมนั้น นอกจากความเข้มและสีแล้ว ยังบันทึก เฟส (phase) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้สามารถสร้างกลับหน้าคลื่นของแสง ให้เหมือนหรือคล้ายกับที่สะท้อนออกจากวัตถุมาเข้าตาเราโดยตรงได้ ทำให้เห็นภาพนั้นมีสภาพเหมือน 3 มิติ
หลักการทำงาน
                ฝั่งต้นทางจะมีกล้องจับจำนวน 35 ตัว สำหรับถ่ายภาพของผู้สื่อข่าวจากต้นทางในมุมต่างๆ
แล้วค่อยสวมทับไปกับภาพในห้องส่งก่อนการออกอากาศ ซึ่งนั่นหมายความว่า ในความเป็นจริงนั้น ภายในห้องส่งจะไม่ได้เห็นภาพของผู้สื่อข่าวแบบ 3 มิติจริงๆ 
ประโยชน์
                ทำให้สามารถเรียนรู้และรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์และถ้าหากนำนวัตกรรมชนิดนี้มาใช้ในการศึกษาไทยจะทำให้การศึกษาสามารถพัฒนาขึ้นได้และทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลข่างสาร ความรู้ต่างๆได้อย่างทั่วถึงทำให้ประเทศชาติมีทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้นและรวมถึงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การแพทย์และอื่น ๆ อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9338.0 
และ http://www.learners.in.th/blogs/posts/447328




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น