วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช

ประวัติโรงพยาบาลศิริราช



           ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. 2424 ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ     ดังนั้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นเพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลถาวรแห่งแรกณบริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาโดยพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนแรกเริ่มในการดำเนินการ
           ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯพระราชโอรสอันประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ประชวรโรคบิดสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2430ยังความอาลัยเศร้าโศกแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯยิ่งนักถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้
ต่างๆในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาลณบริเวณวังหลังดังกล่าวนอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย

            ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า“โรงศิริราชพยาบาล”หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า“โรงพยาบาลวังหลัง”โดยทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทยเมื่อภาระการดำเนินงานรักษาพยาบาลของโรงศิริราช
พยาบาลมีมากขึ้นจนต่อมามีแพทย์ไม่เพียงพอจึงได้ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นในโรงพยาบาลนี้และเริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2433 เป็นต้นมาโดยจัดหลักสูตรการศึกษา 3 ปี สอนทั้งวิชาแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ เรียกโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทยโดยทั่วไปนี้ว่า“โรงเรียนแพทยากร”นักศึกษาแพทย์รุ่นแรกได้สำเร็จกา
รศึกษาและได้รับประกาศนียบัตรแพทย์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2436
ที่มา : http://community.thaiware.com 



“พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช”
          พิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราชเริ่มมาจากการเก็บและ จัดแสดงสิ่งของของแต่ละภาควิชา โดยในปีพ.ศ. 2525 มี พิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวม 13 แห่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ คงเหลือเพียง 6 แห่งที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มี โอกาสเข้าเยี่ยมชม คือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
         เมื่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบพื้นที่บางส่วนของสถานีรถไฟธนบุรีจำนวน 33 ไร่ จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นั้นคณะฯเล็งเห็นว่า เพื่อให้วงการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านวิชาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ ชั้นเลิศ คณะฯ จึงเสนอโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ต่อรัฐบาล จึงได้ วางแผนการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่สถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศฯ ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 7 โครงการ พิพิธภัณฑ์เป็นหนึ่งในโครงการย่อยเหล่านั้น

         ทั้งนี้คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ในส่วน ของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชขึ้น เพื่อให้รับผิดชอบดูแลพิพิธภัณฑ์ต่างๆในศิริราชคณะอนุกรรมการฯได้ พิจารณาจัดตั้ง คณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ ภาควิชาและหน่วยงาน ต่างๆภายในโรงพยาบาลศิริราชเพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการ ซึ่งทั้งหมดรวมเรียกเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ในปัจจุบัน
        วันเปิดเข้าชม เปิดวันจันทร์-เสาร์ เวลา 9:00 - 16:00น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ชางต่างชาติ 40 บาท เด็ก นักเรียน และภิกษุ ชมฟรี  สามารถติดต่อได้ที่ Tel./Fax 02-419-6363 หรือ  simedmuseum@diamond.ac.th
        การเดินทาง จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั่งสาย 59 ต่อเรือท่าพระจันทร์-วังหลัง หรืออาจนั่งนั่งBTSลงสะพานตากสิน แล้วต่อเรือด่วนไป
         การเข้าชมภายใน
        ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงโดยใช้ของจริงที่ได้สต๊าฟหรือดองไว้และมีข้อความบรรยายในชิ้นที่จัดแสดงและมีการใช้หูฟังเพื่อฟังคำบรรยายในแต่ละส่วนของการจัดแสดงแต่ที่ดิฉันไปในครั้งนี้ไม่ได้ใช้หูฟังจึงไม่สามารถอธิบายอย่างละเอียดได้  และที่ได้ไปดูในครั้งนี้จะมีพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ และพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาส่วนอีก 2 พิพิธภัณฑ์ที่ไม่ได้ไปคือ พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
       ภายในพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส ภายในจับเป็น 4โซนด้วยกันโซนแรกบริเวนทางเข้าจะเป็นประวัติการแพทย์ของไทยและต่อไปเป็นห้องที่ 2จะเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับ ทารกผิดปกติตั้งแต่กำเนิด  ภายในห้องจะมีร่างเด็กที่มีความผิดปกติ เช่น เด็กดักแด้ เด็กฝาแฝดมีแขนขาแยกกันแต่บริเวณหน้าอกและลำตัวติดกัน เด็กที่มีลักษณะ 2 หัว เด็กที่ศีรษะโตผิดปกติและมีการผ่าให้เห็นสมองด้านในและอีกอย่างที่เมื่อทุกคนเห็นแล้วจะต้องนรู้สึกสะเทือนใจคือ เด็กฝาแฝดที่ยังมีรกและสายสะดือติดอยู่แต่ที่ลำตัวมีสีดำและที่คำบรรยายใต้ฐานเขียนว่าเป็นเด็กที่ถูกขโมยไปทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์แต่ตามกลับมาได้  ห้องนี้เป็นห้องที่อยากให้ทุกคนที่มีปัญหาหรือทุกข์ใจคิดว่าตัวเองเจอแต่สิ่งแย่ได้มาดูเพราะแม้ว่าเราจะเจอปัญหามากมายร้อยแปดแต่เราก็ยังโชคดีกว่าเด็กๆที่อยู่ภายในห้องนี้ที่เรายังมีโอกาศได้เจอปัญหาและได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขมันโดยที่เด็กเหล่านี้ไม่มีโอกาศแม้แต่จะมองดูโลกใบนี้
ห้องที่ 3 จะเกี่ยวกับโรคมะเร็งต่างๆ และห้องที่ 4 จะเป็นโรคหัวใจผิดปกติ โรคความดันสูง
      ภายในพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน จะเกี่ยวกับคดีต่างๆและในห้องนี้จะมี ร่างของซีอุย นักโทษคดีข่มขืนแล้วฆ่า ชุดของนวลฉวีเป็นคดีที่ทุกคนน่าจะเคยได้ยินมาบ้างและจะมีร่างของเด็กที่เสียชีวิตอยู่มากพอสมควร
      ภายในพิพิธภัณฑ์ ประวัติการแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ จะแสดงการแพทย์แผนไทย ประวัติความเป็นมา ตำราแพทย์สมัยก่อน อุปการณ์การรักษาหรือการปรุงยา และพิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากปรสิตต่างๆ มีตัวอย่างปรสิตให้ดู เช่น พยาธิต่างๆ
      การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
      สามารถนำรูปไปใช้ในการสอนเรื่อง พันธุกรรม ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเด็กทารก โรคต่างๆที่อาจเกิดจากปรสิต เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือการไม่ดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง หรืออาจในการศึกษาอวัยวะภายใน แต่ถ้าจะให้ดีเราควรพาเด็กมาดูด้วยตัวเอง เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในห้องหรือจากคำบอกเล่าเท่านั้น
      ข้อเสนอแนะ  อยากให้มีห้องที่จัดแสดงที่ใหญ่กว่านี้ และมีคำบรรยายทุกๆร่างหรือทุกๆชิ้นส่วนของอวัยวะที่จัดแสดงว่ามีความผิดปกติอะไรหรือเสียชีวิตเพราะอะไร
                                                                                               



ภาพบางส่วนภายในพิพิธภัณฑ์










ขอขอบคุณภาพจาก http://atcloud.com


  
-ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ..^^
 



14 ความคิดเห็น:

  1. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเพราะสื่อที่นำมาจัดแสดงล้วนแต่เป็นของจริงซึ่งทำให้ภาพที่ชัดเจนและถูกต้องเหมาะกับการไปประยุกต์ใช้ในการสอนมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมากๆ สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาชีววิทยาได้ดี ข้อมูลมีความสมบูรณ์ และเห็นตัวอย่างได้ชัดเจน

    ตอบลบ
  4. สื่อที่นำมาแสดงนั้นเป็นของจริง ทำให้ผู้ที่เข้าไปชมแหล่งการเรียนรู้นี้ ได้รู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีประโยชนืมากๆ

    ตอบลบ
  5. ข้อมูลเต็มมาก ภาพก็เยอะด้วย ตอนแรก ไม่คิดที่จะไป แต่ตอนนี้ เปลี่ยนใจอยากไปมากค๊ สามารถนำมาเชื่อมโยงกับรายวิชาได้อย่างดีเลย

    ตอบลบ
  6. เคยไปมาครั้งนึง จำได้ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจมาก แต่ตอนนั้นมีเวลาจำกัด เลยไม่ได้ดูให้ทั่ว ขอบคุณสำหรับภาพและความรู้ที่นำมาฝากนะ นำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ดีเลยล่ะ

    ตอบลบ
  7. ตรงกับวิชาเอกมากกก *0* อยากไปๆ เราชอบนะแบบนี้อ่ะ

    ตอบลบ
  8. น่าสนใจมากครับ ได้เห็นของจริง ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิต

    ตอบลบ
  9. ให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ได้ดีมาก เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

    ตอบลบ
  10. สุดยอดดด อยากไปบ้างอะ ต้องไปๆๆ ^^

    ตอบลบ
  11. ควรจะมีคำอธิบายใต้ภาพด้วยนะครับ ผมอยากรู้บางรูปคืออะไร ^ ^

    ตอบลบ
  12. การที่เราได้ไปพบอาจารย์ใหญ่ทำให้เราได้สัมผัสถึงความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของการเป็นครู เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่แหมาะสมกับนิสิตครูชีววิทยาเป็นยวดยิ่ง

    ตอบลบ
  13. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมาก เพราะเป็นการจัดแสดงของจริงไว้ให้ชม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน ได้เป็นอย่างดี

    ตอบลบ
  14. วิทยาศาสตร์มากๆ แต่มันน่ากลัวไปเค้าไม่ไปนะ

    ตอบลบ